ยินดีต้อนรับ



ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวอัจฉรียา พุทธานุ เอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน



ครั้งที่ 3 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2555

วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น.


กิจกรรม
 จับกลุ่มๆ ละ 3 คน แล้วให้อ่านงานที่ได้้ไปค้นคว้ามาเกี่ยวกับความหมายคณิตศาสตร์ ทฤษฏีการสอน หลักการสอนและขอบข่าย/เนื้อหาของคณิตศาสตร์ อ่านของแต่ละคน แล้วสังเึคราะห์ออกมาให้เป็นงานกลุ่ม

สรุปได้ดังนี้

ความหมายของคณิตศาสตร์
     คณิตศาสตร์ คือ คณิตศาสตร์โครงสร้างเนื้อหาและวิชาการที่มีสัญลักษณ์หลักเกณฑ์เกี่ยวข้องกับสัญลักษณ์ การแก้ปัญหาและการคิดคำนวณ สอนให้ผู้เรียนได้คิดเร็วคิดเป็น
อ้างอิงจาก สุวร กาญจนมยูร.เทคนิคการสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ:2532

หลักการสอนคณิตศาสตร์

  1. ควรสอนเนื้อหาครั้งละไม่มากนัก ไม่ควรสอนเร็วเกินไป
  2. เทคนิคการสอนและกิจกรรมเรียนควรให้แปรเปลี่ยนทุกวันและมีหลากหลายประเภท
  3. วิธีการสอนโดยการอธิบายและแสดงเหตุผลนี้ ผู้สอนเป็นผู้บอกให้นักเรียนคิดตาม เพื่อผู้สอนต้องการให้ผู้เีรียนรู้เรื่องใด ผู้สอนต้องพยายามอธิบายและแสดงเหตุผลให้ได้ข้อสรุป พร้อมทั้งแสดงวิธีการนำข้อสรุปไปใช้ บทบาทของผู้เรียน คือ ฟัง ตอบคำถาม และทำแบบฝึกหัดตามที่ผู้สอนกำหนด
อ้างอิงจาก  ลาวัลย์  พลกล้า.การสอนคณิตศาสตร์.กรุงเทพฯ.2539

ขอบข่ายคณิตศาสตร์
     ทฤษฎีจำนวนประกอบด้วยประวัติทฤษฎีจำนวน จำนวนเต็ม สมบัติของจำนวนเต็มกำลัง 2 สมการ เศษส่วนต่อเนื่อง เป็นต้น
     คณิตศาสตร์ประถมศึกษาประกอบด้วย เลขคณิต เลขาคณิต พีชคณิต ระบบจำนวน และการบวก ลบ คูณ หาร และพื้นฐาน
อ้างอิงจาก  ประยูร  อาษานาม.การเีรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ.2537

ทฤษฎีการสอนคณิตศาสตร์
ดีนส์ Zoltan Dienes
  1. The Dynamic principle เด็กจะเรียนรู้จากการเล่นหรือกิจกรรม 3 ระดับ คือ การเล่นเกมหรือกิจกรรมที่ไม่มีกติกาแน่นอน แต่มีมโนคมติคณิตศาสตร์แฝงอยู่ จากนั้นเด็กเรียนรู้จากการเล่นที่มีกติกาหรือระเบียบ และขั้นสุดท้ายเด็กจะเรียนรู้จากการฝึกหัดซึ่งมุ่งให้เรียนรู้มโนคติที่ต้องการโดยตรง
  2. The Constructive principle ความรู้หรือมโนมติทางคณิตศาสตร์จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้เรียนอยู่ในสภาพที่ยั่วยุให้เกิด ความนึกคิดที่จะแก้ปัญหา แม้ว่าเด็กจะไม่มีความคิดเชิงวิเคราะห์ หรือไม่สามารถประเมินอย่างมีเหตุผล
  3. The Mathematical veriability principle ตัวแปรทางคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์กันอย่างคงที่ การช่วยให้เด็กเข้าใจ มโนมติควรให้วิธีการหลายๆวิธี
  4. The Perceptual veriability principle สามารถรับรู้ได้หลายวิธีแต่มโนมติย่อมคงที่
อ้างอิงจาก ประยูร  อาษานาม.การเีรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ.2537




สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวกรรจิรา  สึกขุนทด
2. นางสาวชิดชนก  เสโส
3. นางสาวอัจฉริยา  พุทธานุ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น