ยินดีต้อนรับ



ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกของนางสาวอัจฉรียา พุทธานุ เอกการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนการสอน




ครั้งที่ 12 วันที่ 23 มกราคม 2556


วิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย EAED2204
เวลา 08.30 - 12.20 น.


กิจกรรม

สมาชิกในกลุ่ม

  • นางสาวอัจฉรียา พุทธานุ
  • นางสาวฐิตืมา ขาวพิมล
  • นางสาววศินี อินอ่อน
หน่วยกล้วย
สรุปการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับปฐมวัย
จากการเรียนการสอนในวิชาคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
           การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดิฉันสามารถบันทึกได้ดังนี้ค่ะจำนวนเช่น การนับจำนวนนับการวัดยาวกว่า สั้นกว่า สูงกว่า เตื้ยกว่า เป็นต้นเรขาคณิตทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้นคณิตศาสตร์ที่ดีมีความสมดุลต่อไปนี้-เน้นกระบวนการคิดและพัฒนาความคิดรวบยอด-เน้นการเรียนรู้ภาษาและการใช้ภาษาที่สัมพันธ์กับกิจกรรม(ชีวิตประจำวันไม่ใช่การท่องจำ เช่น เช้า กลางวัน เย็น)-แนะนำคำศัพท์ใหม่ๆ และลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป-สร้างเสริมให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและค้นคว้าข้อมูลเพื่อให้ได้คำตอบ

(ครูทำเป็นตัวอย่าง) 
         ครูให้แรงเสริม-ส่งเสริมให้เด็กเกิดการรับรู้ สามารถบรรยายและค้นคว้าเพิ่มเติม-เน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดมีทักษะคิดศาสตร์ไปพร้อมๆกัน-เปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นคว้าสำรวจปฏิบัติ รู้จักตัดสินใจได้ด้วยตนเอง(ถ้าจัดกิจกรรมให้สอดคล้องจะเกิดประสิทธิภาพ)หลักการสอนคณิตศาสตร์ครูปฐมวัยที่ดีนอกจากเข้าใจพัฒนาการเด็ก ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กและขอบข่ายของหลักสูตรอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่รู้และเข้าใจหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างดีด้วย

1. สอนให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันในชีวิตประจำวันเด็กมีอะไรบ้างในแต่ละวันเช่น ให้เด็กรินนมครึ่งแก้ว
2. เปิดโอกาสให้เด็กได้รับประสบการณ์ที่ทำให้พบคำตอบด้วยตนเองเช่น หน่วยกล้วย กล้วย 1 หวี มีกี่ลูกให้เด็กนับ และเด็กกัดกี่คำหมด
3. มีเป้าหมายและมีการวางแผนอย่างดี
4.เอาใจใส่ในเรื่องการเรียนรู้และลำดับขั้นของการพัฒนาความคิดรวบยอดของเด็ก
5.ใช้วิธีการจดบันทึกพฤติกรรมหรือระเบียบพฤติการณ์เพื่อใช้ในการวางแผนกิจกรรม(ต้องไม่ใส่ความรูสึกของครูเข้าไป เช่น น้องบีบี เกิดสงสารจึงแบ่งของให้เพื่อน
6. ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของเด็ก
7. รู้จักใช้สถานการณ์ขณะนั้นให้เกิดประโยชน์
8. ใช้วิธีการสอดแทรกกับชีวิตจริง เพื่อสอนความคิดรวบยอดที่ยากๆ
9. ใช้วิธีให้เด็กมีส่วนร่วมหรือปฏิบัติการจริงเกี่ยวกับตัวเลขการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้เป็น

         การจัดสภาพแวดล้อมที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้จากกิจกรรมที่หลากหลายตามความสนใจและความสามารถของเด็ก-เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยเช่นแบบสังเกต เป็นต้น
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย 1. การนับ 2. ตัวเลช 3. การจับคู่ 4. การจัดประเภท 5. การเปรียบเทียบ 6. การจัดลำดับ 7. รูทรงและเนื้อที่ 8. การวัด 9. เซต 10. เศษส่วน 11. การทำตามแบบหรือลวดลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น